ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น โดยครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ วิธีการ
ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ
ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า"เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น"
ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ
ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า"เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น"
คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น"
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการ
ครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน"
ชัยยงค์ (2523) อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material) หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น
จากความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามที่กล่าวมานั้น ต่างเน้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทบาทและหน้าที่หลักของเทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การพัฒนาประสิทธิ์ผลของกระบวนการของการเรียนรู้
ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วยการแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆ ของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปาฐกถาได้มาก
เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น
โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos comenius ค.ศ. 1592 - 1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจังจนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา ท่านผู้นี้เป็นพระในนิกายโปรแตสแตนท์ ในตำแหน่งสังฆราชแห่งโมราเวีย เยอรมัน ท่านมีแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ โดยได้ย้ำความสำคัญของสิ่งของ ของจริง ในการสอน และได้รวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมาถึง 40 ปี คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือโลกในรูปภาพ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1685 เป็นหนังสือที่ใช้มากและมีอิทธิพลมาก ใช้รูปภาพเป็นหัวใจของเรื่องมีรูปภาพประกอบการเรียนถึง 150 รูป บทเรียนบทหนึ่ง จะมีรูปภาพประกอบรูปหนึ่ง เรื่องต่าง ๆ ที่มีในหนังสือ เช่น พระเจ้า สวรรค์ อากาศโลก ต้นไม้ เป็นต้น
ธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในชณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่
บี เอฟ สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก
แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ
เทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้าง
เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้
เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียน
เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น
ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ
Technology in education (หรือ Tools technology)
Technology in education หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระทางการศึกษาหรือการฝึกอบรม ได้แก่ โทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการภาษา เครื่องฉายประเภทต่าง ๆ ( หรือที่เรียกว่า สื่อการสอน)
Technology of education (หรือ System technology)
Technology of education หมายถึง เป็นการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สาขาวิชานี้ได้กล่าวถึงการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งบรรดาวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวมีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน เช่น
เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพของการเรียน และผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้
ลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ให้น้อยลง
เพิ่มประสิทธิภาพของผู้สอนให้มีความสามารถต่อการสอนผู้เรียนที่มีปริมาณมากขึ้นโดยที่ไม่ทำให้ การ เรียนรู้ด้อยคุณภาพลง
ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง โดยไม่กระทบกระเทือนคุณภาพของการเรียน
เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึง การ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่องของ เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอน หรือการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ดีที่สุดสำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ วิธีการ ช่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูด แต่เพียงอย่างเดียว
แนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขวาง แทนการฟังแต่เพียงคำบอกเล่าของครู ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของสาขาวิทยาการต่าง ๆ ทำให้สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้มากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางให้ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเดิม
การเรียนการสอนที่ปฏิบัติได้จริง ส่วนใหญ่ เราไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรง ให้กับผู้เรียนได้ทุกเนื้อหาเนื่องจากอาจมีข้อจำกัดบางประการณ์ เช่น
ต้องลงทุนมาก
ต้องใช้เวลานานมาก อาจเป็นหลายวัน หลายปีหรือปลายร้อยปี
มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก
ความรู้บางอย่างไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง
ดังนั้น นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงแล้ว เรายังมีความจำเป็นต้องจัดประสบการณ์อย่างอื่นให้ผู้เรียนได้รับ แทนประสบการณ์ตรงด้วย เช่น การใช้รูปภาพ หนังสือ แผนภูมิ วิทยุโทรทัศน์ วิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพสูงสุด
การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอน ครูมักเน้นหนักที่การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจรับรองหรือเชื่อถือได้ว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งนี้เพราะการใช้วัสดุอุปกรณ์กับครู ซึ่งมีชีวิต จิตใจ มีอารมณ์ มีสภาพแวดล้อม ไม่คงที่ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการในการใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิธีการกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษานั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผลมาจากองค์ประกอบ 3 ประการ
ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มของปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
เอกลักษณ์ ค่านิยม และเจตคติในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้ม
ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคต
มิลเลอร์ (Willam C. Miller , 1981 อ้างจาก ครรซิต มาลัยวงษ์ 2540 : 39) สรุปว่าการศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
จัดเป็นการศึกษาในระบบน้อยลง
ค่าใช้จ่ายจะต้องถูกลง
สอนเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มากขึ้น
สอนเป็นระบบรายบุคคลมากขึ้น
สอนในเรื่องที่เห็นจริงเห็นจังมากขึ้น
สอนเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ธรรมมากขึ้น
บทเรียนสนุกสนานมากขึ้น
เป็นการเรียนตลอกชีวิต
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการ
ครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน"
ชัยยงค์ (2523) อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material) หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น
จากความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามที่กล่าวมานั้น ต่างเน้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทบาทและหน้าที่หลักของเทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การพัฒนาประสิทธิ์ผลของกระบวนการของการเรียนรู้
ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วยการแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆ ของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปาฐกถาได้มาก
เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น
โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos comenius ค.ศ. 1592 - 1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจังจนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา ท่านผู้นี้เป็นพระในนิกายโปรแตสแตนท์ ในตำแหน่งสังฆราชแห่งโมราเวีย เยอรมัน ท่านมีแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ โดยได้ย้ำความสำคัญของสิ่งของ ของจริง ในการสอน และได้รวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมาถึง 40 ปี คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือโลกในรูปภาพ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1685 เป็นหนังสือที่ใช้มากและมีอิทธิพลมาก ใช้รูปภาพเป็นหัวใจของเรื่องมีรูปภาพประกอบการเรียนถึง 150 รูป บทเรียนบทหนึ่ง จะมีรูปภาพประกอบรูปหนึ่ง เรื่องต่าง ๆ ที่มีในหนังสือ เช่น พระเจ้า สวรรค์ อากาศโลก ต้นไม้ เป็นต้น
ธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในชณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่
บี เอฟ สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก
แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ
เทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้าง
เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้
เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียน
เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น
ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ
Technology in education (หรือ Tools technology)
Technology in education หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระทางการศึกษาหรือการฝึกอบรม ได้แก่ โทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการภาษา เครื่องฉายประเภทต่าง ๆ ( หรือที่เรียกว่า สื่อการสอน)
Technology of education (หรือ System technology)
Technology of education หมายถึง เป็นการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สาขาวิชานี้ได้กล่าวถึงการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งบรรดาวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวมีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน เช่น
เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพของการเรียน และผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้
ลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ให้น้อยลง
เพิ่มประสิทธิภาพของผู้สอนให้มีความสามารถต่อการสอนผู้เรียนที่มีปริมาณมากขึ้นโดยที่ไม่ทำให้ การ เรียนรู้ด้อยคุณภาพลง
ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง โดยไม่กระทบกระเทือนคุณภาพของการเรียน
เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึง การ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่องของ เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอน หรือการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ดีที่สุดสำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ วิธีการ ช่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูด แต่เพียงอย่างเดียว
แนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขวาง แทนการฟังแต่เพียงคำบอกเล่าของครู ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของสาขาวิทยาการต่าง ๆ ทำให้สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้มากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางให้ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเดิม
การเรียนการสอนที่ปฏิบัติได้จริง ส่วนใหญ่ เราไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรง ให้กับผู้เรียนได้ทุกเนื้อหาเนื่องจากอาจมีข้อจำกัดบางประการณ์ เช่น
ต้องลงทุนมาก
ต้องใช้เวลานานมาก อาจเป็นหลายวัน หลายปีหรือปลายร้อยปี
มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก
ความรู้บางอย่างไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง
ดังนั้น นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงแล้ว เรายังมีความจำเป็นต้องจัดประสบการณ์อย่างอื่นให้ผู้เรียนได้รับ แทนประสบการณ์ตรงด้วย เช่น การใช้รูปภาพ หนังสือ แผนภูมิ วิทยุโทรทัศน์ วิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพสูงสุด
การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอน ครูมักเน้นหนักที่การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจรับรองหรือเชื่อถือได้ว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งนี้เพราะการใช้วัสดุอุปกรณ์กับครู ซึ่งมีชีวิต จิตใจ มีอารมณ์ มีสภาพแวดล้อม ไม่คงที่ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการในการใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิธีการกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษานั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผลมาจากองค์ประกอบ 3 ประการ
ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มของปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
เอกลักษณ์ ค่านิยม และเจตคติในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้ม
ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคต
มิลเลอร์ (Willam C. Miller , 1981 อ้างจาก ครรซิต มาลัยวงษ์ 2540 : 39) สรุปว่าการศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
จัดเป็นการศึกษาในระบบน้อยลง
ค่าใช้จ่ายจะต้องถูกลง
สอนเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มากขึ้น
สอนเป็นระบบรายบุคคลมากขึ้น
สอนในเรื่องที่เห็นจริงเห็นจังมากขึ้น
สอนเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ธรรมมากขึ้น
บทเรียนสนุกสนานมากขึ้น
เป็นการเรียนตลอกชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น